แม่สาย วิกฤติหนัก ชาวบ้านรอความช่วยเหลือ หลังระดับน้ำสูงขึ้น

แม่สาย

แม่สาย อิทธิพลจากพายุ “ยางิ” ทำให้พื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะที่ จ.เชียงราย ซึ่งทำให้ภาวะน้ำป่าไหลหลากลงมาท่วมอย่างหนัก สุดปลื้ม Apple ที่ตลาดสายลมจอย อ.แม่ สาย อีกรอบ ทั้งที่ จ.เชียงรายเพิ่งถูกน้ำท่วมหนัก คาสิโน 168 ไปช่วงในปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี่เอง (2567)

ชาวแม่สายจำนวนมากยังติดอยู่ในบ้านที่ถูกน้ำท่วมสูงถึงหลังคา บางคนต้องย้ายมาใช้ชีวิตอยู่บนหลังคาบ้าน ซึ่งเป็นส่วนเดียวที่ยังไม่ถูกน้ำท่วม การเข้าให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลำบากตลอดทั้งกลางวันต่อเนื่องไปถึงกลางคืน เพราะน้ำสูง แรง ไหลเชี่ยว ในระหว่างที่ฝนยังคงตกลงมาเพิ่ม

อ.แม่สาย เป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมมาถึง 8 ครั้งแล้ว ถ้านับเฉพาะในปี 2567 นี้ จึงมาพร้อมคำถามใหญ่ว่า อ.แม่ สาย หรือ จ.เชียงราย มีระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่นี้หรือไม่ ในเมื่อเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจากน้ำป่า เกิดน้ำท่วมซ้ำซากบ่อยๆ ทำไมประชาชนจึงยังคงได้รับความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งที่มีการแจ้งเตือนพายุล่วงหน้าหลายวัน

“กรมอุตุฯ บอกว่า เราสามารถพยากรณ์ฝนล่วงหน้า 7 วัน ได้แม่นยำถึงประมาณ 90% แล้ว แต่ถ้าเป็นการพยากรณ์ล่วงหน้า 3 วัน เราจะมีความแม่นยำถึงเกือบ 100% เต็ม … ส่วนข้อมูลการไหลของน้ำ ความแรง เส้นทาง เราก็มีหน่วยงานที่จัดทำข้อมูลอย่างละเอียด คือ สทนช. (สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) ดังนั้น เรามีทั้งข้อมูลฝนที่จะตกหนักแน่ เรารู้เส้นทางน้ำ รู้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ แต่กลับไม่มีใครบอกให้คนแม่สายทำอะไร … คำถามคือ การเตือนภัย เป็นหน้าที่ของใครกันแน่?”

ไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท และอดีตผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิ ตั้งคำถามดังๆ ไปถึง “ระบบเตือนภัย” ของประเทศไทย ซึ่งดูเหมือนเป็น “หน้าที่” ที่ยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบอย่างชัดเจนเต็มตัว จนทำให้เกิดความสูญเสียมากกว่าที่ควรทุกครั้งเมื่อเกิดภัยพิบัติ

“ในมุมผม ควรเป็นหน้าที่ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันกลายไปเป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย”

“ผมคิดว่า การเตือนภัยควรมี 2 ระบบ … ระบบแรก คือ การเตือนล่วงหน้า 3 วัน ซึ่งศูนย์เตือนภัยฯ สามารถใช้ข้อมูลฝน ข้อมูลน้ำ ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ หรือขอข้อมูลจาก สทนช. มาทำการเตือนภัยได้เอง … ระบบที่ 2 ในกรณีเร่งด่วนต้องเตือนภัยภายใน 24 ชั่วโมง ศูนย์เตือนภัยฯ ควรมีอำนาจไปขอให้ กสทช.ใช้วิธีบูรณาการความร่วมมือกับสื่อสารมวลชน และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ออกประกาศแจ้งเตือนไปยังสื่อต่างๆ ทุกแพลตฟอร์ม รวมถึงต้องส่งข้อความตรงไปถึงโทรศัพท์ของคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้เลย … แต่ที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการส่งคำเตือนไปให้กับผู้บริหารส่วนราชการที่มีอำนาจตัดสินใจเท่านั้น”

“เราต้องเปลี่ยนใหม่ ต้องส่งข้อมูลให้ประชาชนโดยตรง”